วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                      การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
 วัน/เดือน/ปี 05/01/57
  (08:30-12.20 น.)
  อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้


ครูไม่ความตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง


ครุไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

อาจารย์ให้วาดรูปดอกหางนกยูงให้เหมือนให้มากที่สุด

พร้อมบอกสิ่งที่เห็นในภาพที่อาจารย์ให้ดูบรรยายใต้ภาพ



อาจารย์มีชีดเพลงใหม่มาให้แล้วให้ฝึกร้องด้วยกัน

ประเมินการเรียน
ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมสนุกมากให้วาดรูประบายสี
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรมวาดรูประบายสีมาก
ประเมินตนเอง  เครียดนิดหน่อยเพราะเป้นคนวาดรูปไม่เก่ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น