วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

 
                            การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 26/03/58
                                                            (08:30-12.20 น.)
                                                        อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ   

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ให้สอบข้อเขียนจากความรู้ที่อาจารย์ได้สอนมาคะแนนเ๖้มทั้งหมด 10 คะแนน



ประเมินการสอบ
ประเมินตัวเอง  ทำได้บ้างบางข้อเพราะมีลังเลและจำไม่ได้บ้าง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 19/03/58
                                                            (08:30-12.20 น.)
                                                        อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เด็กต้องมีอิสระ ทำได้ด้วยตนเอง
-การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
-การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

 - อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง 
 - เชื่อมั่นในตนเอง
 - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
ทั่วไป
- บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
- ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
- แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
(เช่นการเข้าส้วม)
1.) เข้าไปในห้องส้วม 
 2.) ดึงกางเกงลงมา 
 3.) ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.) ปัสสาวะหรืออุจจาระ 
 5.) ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
 6.) ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.) กดชักโครกหรือตักน้ำราด 
 8.) ดึงกางเกงขึ้น 
 9.) ล้างมือ 
 10.) เช็ดมือ
11.) เดินออกจากห้องส้วมการ

กิจกรรมระหว่างเรียน

 1 แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น

2 แจกสีเทียนตามความต้องการของแต่ละคน
3 ให้ระบายสีให้เป็นวงกลมลงบนกระดาษตามอิสระ
4 จากนั้นตั้ดกระดาษให้เป็นวงกลมตามสีที่เราระบาย
5 อาจารย์บอกลักษณะนิสัยของแต่ละคนตามผลงาน

6 อาจารย์เราต้นไม้มาแปะไว้หน้ากระดานให้ทุกคนนำผลงานของตัวเองไปแปะเป็นใบไม้ตสมจินตนาการของตัวเอง

ประเมินการเรียน
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสน่ารักเหมือนทุกวันสอนเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน      ทุกคนทั้งตื่นเต้นแต่ชื่นชมความสวยของคนไม้
ประเมินตนเอง      ตั้งใจทำงาน แต่มีคุยบ้าง



วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

                    
                           การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 12/03/58
                                                            (08:30-12.20 น.)
                                                         อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
ทักษะการรับรู้ภาษา
การแสดงออกทางภาษา
การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดภาพระบายสีอาจารย์แจกกระดาษและสีให้จับคู่กันแล้ววาดรู้ลงบนกระดาษเป็นเส้นตรงโดยไม่ให้เส้นขาดจากนั้นให้ระบายสีช่องที่ปิด

ผลงานของพื่อนและฉัน
                                          จากนั้นอาจารย์บอกลักษณะนิสัยของเราจากผลงาน

ประเมินการเรียน
ประเมินอาจารย์   อาจารย์อธิบายได้เข้าใจง่ายและมีรายละเอียดที่เหมาะสม
ประเมินเพื่อน       เพื่อนๆทุกคนมีคุยกันบ้างแต่ตั้งใจทำงาน  
ประเมินตนเอง       ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งอย่างมีความสุข พร้อมจดเนื้อหางานที่อาจารย์สอนได้ครบ


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

                      การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 05/03/58
                                                            (08:30-12.20 น.)
                                                        อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
หมายเหตุ


ไม่มีการเรียนการสอบเพราะอาจารย์ให้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

                     การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 26/02/57
                                                            (08:30-12.20 น.)
                                                        อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน

 ความรู้ที่ได้รับ

หมายเหตุ

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

                          การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                           วัน/เดือน/ปี 19/02/57
                                                              (08:30-12.20 น.)
                                                        อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้มีการทบทวนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่เเล้วเพิ่มเติม   เเละจากนั้นอาจารย์มีเเบบทดสอบให้นักศึกษาผ่อนคลายมีความสุุขก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กเเต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นเเบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำเเผน IEP
การกระตุ้นการเรียนเเบบเเละการเอาอย่าง
-วางเเผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-เด็กปกติทำหน้าทีเหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆ เเละเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มเเละพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย การพูดนำของครู

จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน



ประเมินการเรียน
ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ดูสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารักเหมือนทุกวัน ตั้งใจสอนนักเรียนอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานหัวเราะกันอย่างมีความสุข
ประเมินตัวเอง  ตั้งใจทำงานอาจมีบางครั้งที่คุยบ้าง



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

                       การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                          วัน/เดือน/ปี 12/02/57
                                                          (08:30-12.20 น.)
                                                       อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
 อบรมระยะสั้น สัมมนา
สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
        เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
รู้จักเด็กแต่ละคน
 มองเด็กให้เป็น เด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
การสอนโดยบังเอิญ
ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่  ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
 ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  ครูต้องมีความสนใจเด็ก
ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
 ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
มีลักษณะง่ายๆ
ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
 เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
 ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
 วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  สอนจากง่ายไปยาก

กิจกรรมวันนี้



    วันนี้กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือการวาดมือตัวเองข้างที่ไม่ถนัดโดยการใส่ถุงมือโดยไม่ให้เห็น  มือที่วาดเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด

พร้อมบอกความรู้สึกเกี่ยวกับมือเรา

   อยู่ด้วยกันมา 21 ปี จำได้เท่านี้ก็โอเคนะ ถึงจะอยู่ด้วยกันมานานแต่จำรายละเอียดได้ไม่หมด เปรียบกับ นักเรียน 1 คน เขาอยู่กับเราตลอด เชื่อมโยงกับการบันทึกควรบันทึกตลอดเพราะถ้าปล่อยไปอาจลืมอาจจำได้ไม่หมดควรเห็นและบันทึกด้วย
























 ผลงานของฉัน




ประเมินการเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้สอนและอธิบายเรื่องราวได้สนุกสนานเรียนแล้วไม่เครียด
ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนทุกคนดูสนุกสนานในการได้วาดรูปมือตัวเองดูตื่นเต้นเพราะบางคนก็จำรายละเอียดมือตัวเองไม่ได้
ประเมินตัวเอง  วันนี้อาจารย์ได้ทำให้ฉันคิดว่าควรใส่ใจกับสิ่งใกล้ตัวให้มากขึ้น